กฎหมายแพ่ง
1. กฎหมายแพ่ง
คือกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวกับครอบครัวเป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเองและครอบครัว ดังนี้
1.1 การหมั้น เป็นการที่หญิงชายตกลงทำสัญญาว่าจะทำการสมรสกัน การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบทรัพย์อันเป็นของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิง แต่ในการสมรสนั้นไม่ได้บังคับว่าจะมีการหมั้นก่อน แต่ถ้าหมั้นก็จะมีผลผูกพันกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการหมั้น เช่น ของหมั้นจะตกเป้นสิทธิแก่หญิงทันที เมื่อมีการหมั้นแล้ว ไม่ว่าชายหรือหญิงตาย ฝ่ายหญิงก็ไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายเป็นต้น เกณฑ์การหมั้นตามกฎหมายนั้น คือ ชาย หญิงจะหมั้นต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงจะมีอำนาจที่จะทำการหมั้นได้โดยลำพังตนเอง แต่ถ้ามีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์จะทำการหมั้นได้ต้องมีพ่อแม่หรือผู้ปกครองยินยอมก่อน เป็นต้น
การหมั้นที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นถือเป็นโมฆะ เหตุที่กฎหมายกำหนดอายุของหญิงและชายไว้ ก็เพราะการหมั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของชายและหญิง เมื่อจะทำสัญญาหมั้นกันจึงควรให้ชายและหญิงที่จะหมั้นอยู่ในวัยที่จะรู้เรื่องการหมั้นได้ตามสมควร กฎหมายถือว่าชายหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ ไม่อยู่ในวัยที่จะรู้เรื่องการหมั้น การสมรส แม้บิดามารดาจะยินยอมก็ตาม
1.2 การรับรองบุตร เป็นการให้การยอมรับบุตรซึ่งเกิดจากหญิงที่เป็นภรรยาโดยมได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิง แต่เป็นบุตรนอกกฎหมายของชาย กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้ชายจดทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งจะทำให้เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนับตั้งแต่วันที่ชายจดทะเบียน แต่ถ้าเป็นบุตรนอกสมรสแต่ต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันก็ไม่ต้องจดทะเบียบรับรองบุตรอีก
การจดทะเบียนบุตรมี 2 วิธี คือการรับรองบุตรด้วยความสมัครใจของชายผู้เป็นบิดา และการรับรองบุตรโดยคำพิพากษาของศาลให้เด็กผู้นั้นเป็นบุตรของชายผู้เป็นบิดา
1.3 กฎหมายแพ่งเกียวกับมรดกกฎหมายแพ่งเกี่ยวกับมรดกกำหนดว่าเมื่อบุคคลใดตาย และทำพินัยกรรมไว้ มรดกจะตกทอดแก่บุคคลที่ผู้ตายระบุไว้ในพินัยกรรม หากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้มรดกจะตกทอดแก่บุคคลที่เป็นทายาทและคู่สมรส กองมรดก ได้แก่ ทรัพย์ทุกชนิดของผู้ตาย รใมทั้งสิทธิและหน้าที่ ตลอดทั้งความรับผิดชอบต่างๆเกี่ยวกับทรัพย์สิน เป็นต้นว่าหนี้สิน เว้นแต่กฎหมาย หรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เช่นสิทธิในการเข้าสอบ หรือสิทธิในการมีอาวุธปืน การตายของเจ้าของมรดกมีความยหมาย สองกรณี คือตายหรือสิ้นชีวิตไปตามจริงตามใบมรณบัตร หรือศาลสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ บุคคลที่จะได้รับมรดกของผู้ตายได้แก่ ทายาท วัด แผ่นดิน บุคคลภายนอกนี้ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเลยทายาทแบ่งออกเป็นสองประเภท
1. ทายาทโดยธรรม เป็นทายาทตามสิทธิกฎหมาย ได้แก่ ญาติ และคู่สมรส และทายาทที่แบ่งออกเป็นหกชั้นคือ
1.1 ผู้สืบสันดาน
1.2 บิดามารดา
1.3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
1.4 พี่น้องที่ร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
1.5 ปู่ย่า ตายาย1.6 ลุง ป้า น้า อา
2.ผู้รับพินัยกรรม พินัยกรรม ได้แก่ คำสั่งยกทรัพย์สินหรือแบ่งทรัพย์สิน หรือวางข้อกำหนดใดๆอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเมื่อตายไปแล้ว หรือกรณีอื่นๆที่กฎหมายรับรองมีผลเมื่อตายไปแล้ว เช่น การตั้งเป็นผู้ปกครองเด็ก เป็นต้นและต้องทำให้ถูกกฎหมายกำหนดไว้ด้วย จึงจะมีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย ผู้รับพินัยกรรม ได้แก่ ผู้ที่มีชื่อระบุไว้ในพีนัยกรรม
กฎหมายอาญา
กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิด (ลักษณะความผิด) และกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น (ลักษณะโทษ) เช่น
1. บัญญัติลักษณะความผิดว่าการที่ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คือ “ความผิดฐานลักทรัพย์”
2. บัญญัติลักษณะโทษ คือกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ไว้คือ “ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท”
กฎหมายอาญา หมายถึง กฎหมายทุกอย่างที่บัญญัติถึงลักษณะความผิดและลักษณะโทษทางอาญา แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.ต้องมีการกระทำ
การกระทำ หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก การละเมอ หรือการถูกสะกดจิตแล้วกระทำ
ความผิดในระหว่างนั้น ย่อมไม่ใช่การกระทำ จึงไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย
2.ก่อนที่จะมีการกระทำความผิดขึ้น จะมีขั้นตอนของการกระทำเป็น 3 ระยะ
2.1 การคิดที่จะกระทำ
2.2 ตกลงใจหรือตัดสินใจที่จะกระทำ
2.3 ได้มีการกระทำตามที่ตกลงใจนั้น
3.การกระทำนั้นเข้าองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ เมื่อมี “การกระทำ”
แล้วต้องพิจารณาต่อไปว่าการกระทำนั้นเข้าองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดหรือไม่ เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และฉ้อโกง เป็นต้น โทษทางอาญา มี 5 สถานคือ
3.1 ประหารชีวิต
3.2 จำคุก คือ การเอาตัวไปคุมขังไว้ในเรือนจำตามกำหนดเวลาที่ศาลพิพากษา
3.3 กักขัง คือ โทษที่ให้กักตัวผู้กระทำความผิดไว้ในสถานที่กักขัง ซึ่งกำหนดไว้อันมิใช้เรือนจำ ทางปฏิบัติให้เอาตัวไปกักขังไว้ที่สถานีตำรวจ
3.4 ปรับ คือ โทษที่ผู้กระทำความผิดต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล มิฉะนั้นต้องถูกยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับ หรือถูกกักขังแทนค่าปรับ ในกรณีเด็กหรือเยาวชนต้องโทษปรับ ถ้าเด็กหรือเยาวชนไม่ชำระค่าปรับ จะกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ แต่ให้ส่งตัวไปเพื่อควบคุมและอบรม เช่น ในสถานพินิจ ตามที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกิน 1 ปี
3.5 ริบทรัพย์สิน
4.ผู้กระทำต้องมีความสามารถรู้ผิดชอบหรือบังคับตนเองได้ เช่น ผู้กระทำเป็นโรคจิตไม่สามารถบังคับ
ตนเองได้เลย หรือเสพสุราหรือสิ่งมึนเมาเพราะไม่รู้ว่าเป็นสิ่งมึนเมา หรือถูกบังคับข่มขืนใจให้เสพแล้วไปกระทำความผิดขณะมึนเมาขาดสติเช่นนี้พอจะเป็นข้ออ้างแก้ตัวไม่ต้องรับโทษได้สำหรับความผิดที่ได้กระทำลงนั้น อีกกรณีหนึ่งถ้าหย่อนความสามารถเพราะเป็นเด็กหรือผู้มีอายุน้อย กฎหมายก็ลดหย่อนผ่อนโทษหรือไม่ต้องรับโทษเลย
5.ผู้กระทำโดยเจนา กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำ
ก็ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ระมัดระวังเช่นนั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เช่น ขับรถยนต์เร็วเกินกำหนดแล้วไปชนคนตาย หรือยกปืนจ้องไปทางเพื่อนประสงค์จะล้อเล่น แล้วปืนลั่นถูกเพื่อนตาย เป็นต้น
6.การกระทำนั้นไม่มีเหตุหรือกฎหมายยกเว้นโทษให้ คือบุคคลใดกระทำความผิดต้องรับโทษ แต่ถ้ามีเหตุที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ผู้กระทำผิดนั้นก็ไม่ต้องรับโทษ เช่น สามีฉ้อโกง ยักยอก หรือลักทรัพย์ของภรรยา หรือภรรยากระทำการดังกล่าวต่อสามี กฎหมายบัญญัติว่า ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือผู้ใดกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะมิชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
ถ้าข้อเท็จจริงเข้าหลักเกณฑ์ทั้ง 6 ประการดังกล่าวมาแล้ว ผู้นั้นจึงจะต้องรับโทษทางอาญา ความผิด
ของเด็กและเยาวชนในทางอาญา
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534
“เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบรูณ์
“เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์นั้น ก็หมายความรวมถึงว่าบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปกระทำความผิดอาญาไม่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้
ในความผิดทางอาญา ผู้กระทำมีความสามารถรู้ผิดชอบในการที่กระทำไป จึงจะเป็นความผิดต้องรับโทษ เด็กและเยาวชนคือผู้ที่หย่อนความสามารถ ดังนั้นกฎหมายจึงกำหนดให้เด็กและเยาวชนที่ทำความผิดอาญา แม้การกระทำนั้นจะเป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับลดหย่อนผ่อนโทษให้ดังนี้
1. เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี กระทำความผิดทางอาญา เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ ยกเว้นโทษให้โดยเด็ดขาด จะเอาตัวเด็กไปกักขังหรือควบคุมใด ๆ แม้ระหว่างสอบสวนก็ไม่ได้ทั้งสิ้น
2. เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี กระทำความผิดอาญา เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษแต่ศาลอาจใช้ “วิธีการสำหรับเด็ก” เช่นว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยตัวไปหรือส่งตัวไปสถานฝึกอบรมสำหรับเด็กชั่วระยะเวลาหนึ่งก็ได้
3. ผู้ใด (กฎหมายใช้คำว่า “ผู้ใด”) อายุต่ำกว่า 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปี กระทำความผิดอาญา ผู้นั้นอาจถูกศาลใช้ “วิธีการสำหรับเด็ก” หรือถ้าเห็นสมควรจะพิพากษาลงโทษ โดยลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งสำหรับความผิดนั้นก็ได้ ลดมาตราส่วนโทษ โดยลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งสำหรับความผิดนั้นก็ได้ ลดมาตราส่วนโทษ เช่น กฎหมายกำหนดอัตราโทษสำหรับความผิดนั้นไว้จำคุกไม่เกิน 10 ปี ถ้าลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งคงเป็นจำคุกไม่เกิน 5 ปีเป็นต้น
4. ผู้ใดอายุกว่า 17 ปี แต่ยังไม่เกิน 20 ปี กระทำความผิดอาญา ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษ 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งสำหรับความผิดนั้นก็ได้ (ไม่ลดเลยก็ได้) ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นเยาวชนคืออายุไม่เกิน 18 ปี เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะพิพากษาจำคุกแล้วเปรียบเทียบโทษจำคุก “กักและอบรม” ในสถานกักและอบรมของสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าที่ผู้นั้นจะมีอายุครบ 24 ปี
กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญาต่างกันอย่างไร
กฎหมายแพ่ง คือ คดีฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน เช่นฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้ ค่าซื้อ ค่าจ้างและฟ้องขับไล่เป็นต้น
กฎหมายอาญา คือ กฎหมายใดที่มีโทษถือว่ากฎหมายนั้นเป็นกฎหมายอาญา ยกตัวอย่างง่ายๆเช่นการทำร้ายร่างกาย เป็นกฎหมายว่าด้วยสิทธิทางร่างกาย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น